ถ้าเกิดน้องๆหลายคนไม่ได้อ่านหนังสือหรืออ่านหนังสือไม่ทันแล้วมีปัญหากับการสอบแบบสุดๆ วันนี้เราจะพาน้องๆ ไปดู 6 วิธี เดาข้อสอบ ให้ได้ ”คะแนนเยอะ”ที่สุด ทางที่ดีอ่านหนังสือดีกว่านะครับผมม 😀
1 ตัดช้อยส์
เป็นเทคนิคเมื่อโบราณกาลนานมาแล้ว เป็นเทคนิคคลาสสิคที่ใครๆ เค้าทำกัน คือ ตัดตัวเลือกที่ดูไม่น่าเกี่ยวข้อง หรือ ไม่ใช่แน่ๆ ออกไป เพราะข้อสอบแต่ละข้อก็จะมีบ้างที่น้องๆ สามารถรู้ว่าช้อยส์นี้ไม่ใช่ ดังนั้น ตัดออกไป ถ้าตัดไดถึง 2 ข้อจะดีมาก เพิ่มโอกาสถูกให้เรา 50 – 50% เลยทีเดียว กลับกันหากเราเดาสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ตัดช้อยส์โอกาสถูกจะมีเพียง 25% หรือ 1 ใน 4 เท่านั้น
2. ข้อที่ทำไม่ได้ ให้ข้ามไปก่อน
บางข้อคิดหัวแทบแตกก็ไม่ได้คำตอบ ตัดช้อยส์ก็ไม่ได้ แนะนำให้ข้ามข้อนี้ไปก่อนเลย แล้วค่อยกลับมาทำทีหลังโดยใช้เทคนิคอื่นเข้าช่วย อย่าดันทุรังฝืนทำต่อไป เพราะจะเสียเวลาโดยใช่เหตุ ลองคิดดูว่าฝืนคิดข้อละ 1 นาที 20 ข้อ เท่ากับเราเสียเวลาแบบไม่ได้คำตอบไป 20 นาทีเชียวนะ
3. “ไม่มีข้อใดถูก” มักเป็นตัวเลือกหลอก
ในคำถามที่เน้นการวิเคราะห์และความจำที่ช้อยส์จะยาวเป็นพิเศษ และมักจะมีช้อยส์ “ไม่มีข้อใดถูก” อยู่ด้วย แนะนำว่าถ้ามีช้อยส์นี้ขึ้นมาให้ตัดออกไปได้เลย เพราะการคิดช้อยส์ให้ผิดยากกว่าคิดช้อยส์ให้ถูกนะคะ ที่สำคัญคือ ถ้าตั้งโจทย์มาแล้วแต่ไม่มีข้อถูกในนั้น นักเรียนก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร เรียกว่าเป็นช้อยส์ที่เกิดมาเพื่อหลอกโดยเฉพาะ ยกเว้นแต่ว่าอาจารย์คนนั้นเป็นที่ขนานนามกันว่าเดาแนวข้อสอบยาก อะไรก็เกิดขึ้นได้!!
ส่วนตัวเลือก “ถูกทุกข้อ” อันนี้ค่อยมีโอกาสเป็นไปได้ แต่น้องๆ ควรอ่านโจทย์ให้ครบทุกข้อซะก่อน สิ่งที่ต้องดูคือ เนื้อหาในช้อยส์มีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ ขัดแย้งกันเองหรือไม่ เป็นต้น
แต่ถ้าเกิดมีตัวเลือก “ไม่มีข้อใดถูก” กับ “ถูกทุกข้อ” พร้อมกัน ไม่น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้ค่ะ สามารถดูช้อยส์ 2 ข้อที่เหลือแล้วเลือกตอบได้เลย
4 คำตอบที่แย้งกันเอง มักจะมีข้อใดข้อหนึ่งถูก
ลองสวมบทบาทคนออกข้อสอบดู เมื่อใส่คำตอบที่ถูกไปแล้ว พอคิดคำตอบที่ผิดขึ้นมาก็มักจะสร้างคำตอบที่ตรงกันเอาไว้ก่อน เรียกว่าเป็นช้อยส์คู่ขนาน เช่น คำตอบที่ลงท้ายว่า “มากขึ้น – ลดลง” เป็นต้น อยู่ที่ว่า 2 ช้อยส์ที่ตรงข้ามกันนั้นเราจะรู้คำตอบมั้ย
5 ช้อยส์ที่มีความหมายเหมือนกัน ตัดทิ้งได้เลย
ตรงกันข้ามกับคำตอบที่แย้งกันอันนั้นให้เก็บไว้และเลือกคำตอบที่ถูกต้อง ส่วนช้อยส์ที่มีเนื้อหาหรือความหมายเหมือนกันให้ตัดทิ้ง เพราะถ้าข้อนึงถูก อีกข้อนึงก็ต้องถูก ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ เช่น
ข้อใดคือประโยชน์ของวิตามินเอ?
ก.บำรุงสายตา
ข.บำรุงกระดูก
ค.บำรุงฟัน
ง.ป้องกันหวัด
อันนี้เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ที่อยากให้น้องๆ เห็นภาพ สมมติว่าข้อนี้น้องๆ ไม่รู้คำตอบเลย ก็ลองดูที่ช้อยส์จะเห็นว่า จริงๆ แล้วกระดูกและฟันมันก็คล้ายๆ กัน ถ้าเกิดมันต้องตอบฟัน กระดูกก็จะต้องตอบด้วย เพราะฉะนั้นจะแยกกันไม่ได้ ดังนั้นตัดออกได้เลยทั้งสองช้อยส์ก็จะเหลือข้อ ก) และ ง) ที่เหลือก็ต้องตัดช้อยส์กันต่อไป ถ้าไม่ได้ต้องเดาต่อ
6) ทิ้งดิ่ง
เมื่อลองทุกวิถีทางมาแล้ว เชื่อว่าจะเหลือข้อที่ทำไม่ได้ประมาณ 10% ถ้ามากกว่านี้ต้องสงสัยแล้วล่ะว่าได้อ่านหนังสือมาบ้างมั้ยเนี่ย ฮ่าๆ เอาล่ะ เมื่อข้อที่เหลือไม่สามารถตัดช้อยส์ได้ ก็ให้ทิ้งดิ่งโดยมีหลักการเลือกข้อที่จะทิ้งดิ่งว่า ต้องเป็นข้อที่มีคำตอบน้อยที่สุด เช่น ข้อสอบ 100 ข้อ เหลือข้อที่ตอบไม่ได้ 12 ข้อ ข้อ ก) มี 21 ข้อ ข)มี 14 ข้อ ค)มี 27 ข้อ ง) 26 ข้อ จะเห็นได้ว่า ข้อ ข) มีคำตอบน้อยที่สุด เพราะฉะนั้น 12 ข้อที่เหลือให้ทิ้งดิ่ง เทกระจาด ตลาดแตกที่ข้อ ข) ได้เลย
คำถามที่เกิดขึ้นคือ แล้วจะมั่นใจได้ยังไงว่าอาจารย์จะออกข้อสอบแบบเฉลี่ยคำตอบให้เท่ากันทุกข้อ ในความเป็นจริงอาจารย์คงไม่ได้จัดให้เท่ากันเป๊ะๆ หรอกค่ะ แต่เราได้ทำข้อที่มั่นใจมากและเกือบมั่นใจไปจนเกือบหมดแล้ว แต่คำตอบในบางข้อก็ถูกกาน้อยซะเหลือเกิน จะให้เราไปทิ้งดิ่งในข้อที่คำตอบเยอะแล้วก็คงจะไม่ใช่ ดังนั้นแบบนี้แหละที่เพิ่มโอกาสได้คะแนนมากกว่า…. ถึงอาจารย์บางท่านจะไม่ได้ยึดหลักเฉลี่ย 25 เท่ากัน แต่ก็เชื่อว่ามีหลายท่านนะคะที่ยังใช้หลักนี้อยู่^^
ที่มา: เด็กดี.com